top of page

กาลพฤกษ์


กาลพฤกษ์

กาลพฤกษ์ ชื่อสามัญ Wishing Tree, Pink Shower, Pink cassia, Pink and White Shower Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia bakeriana Craib (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cassia bakerana Craib) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)

วีดีโอแนะนำ

กัลปพฤกษ์ไม้มงคล

ลักษณะของกาลพฤกษ์

  • ต้นกาลพฤกษ์ จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงได้ประมาณ 5-15 เมตร มีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 12 เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง แต่ไม่หนาแน่นทึบ แตกกิ่งต่ำและทอดกิ่งยาวขึ้นสู่ด้านบน เปลือกต้นด้านนอกเรียบเป็นสีเทา ส่วนเนื้อไม้เป็นสีเหลืองถึงสีน้ำตาล บริเวณยอดและกิ่งอ่อนมีขนอ่อนขึ้นปกคลุมหนาแน่น

  • ใบกาลพฤกษ์ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงสลับ เป็นช่อยาวประมาณ 15-40 เซนติเมตร ก้านช่อใบยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร มีใบย่อยประมาณ 5-8 คู่ เรียงจากเล็กไปหาใหญ่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนานถึงรูปใบหอก ปลายใบกลม บางครั้งมีติ่งสั้น ๆ อยู่ตรงปลายสุด โคนใบบนและเบี้ยวเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบ

  • ดอกกาลพฤกษ์ ออกดอกเป็นช่อกระจะตามกิ่งพร้อมกับแตกใบอ่อน ช่อดอกไม่แตกแขนง ยาวได้ประมาณ 5-10 เซนติเมตร มีขนสีเหลืองขึ้นปกคลุม ช่อดอกจะออกแน่นเป็นกลุ่มตลอดกิ่ง ก้านดอกยาวได้ประมาณ 4-6 เซนติเมตร ดอกมีใบประดับที่มีลักษณะเป็นรูปใบหอกชัดเจน มีขนาดกว้างประมาณ 7 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 0.7-1.2 เซนติเมตร เมื่อเริ่มบานดอกจะเป็นสีชมพู แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูเรื่อ ๆ จนถึงสีขาวเมื่อใกล้ร่วงโรย

  • ผลกาลพฤกษ์ ผลมีลักษณะเป็นฝักรูปทรงกระบอกยาวแคบ สีน้ำตาล แขวนลงมาจากกิ่ง ฝักมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ฝักมีขนนุ่มสีเทาปกคลุมตลอด ภายในฝักแบ่งออกเป็นช่อง ๆ ตามขวาง เนื้อในฝักเป็นสีขาวปนเขียว มีเมล็ดประมาณ 30-40 เมล็ด ผลจะออกในช่วงเดียวกับการผลิดอก คือช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นระยะเดียวกับการทิ้งใบทั้งหมดในช่วงต้นฤดูร้อน

  • เมล็ดกาลพฤกษ์ เมล็ดมีลักษณะค่อนข้างกลม รูปไข่ รูปรี ถึงรูปขอบขนาน มีสีน้ำตาลเป็นมัน มีขนาดกว้างประมาณ 6-7 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 0.8-1.1 เซนติเมตร

สรรพคุณของกาลพฤกษ์

  1. เปลือกฝักและเมล็ดมีรสขมเอียน ใช้เป็นยาลด ถ่ายพิษไข้ได้ดี (เปลือกฝัก, เมล็ด)

  2. เนื้อในฝักใช้แก้คูถ แก้เสมหะ (เนื้อในฝัก)

  3. ช่วยทำให้อาเจียน (เปลือกฝัก, เมล็ด)

  4. เนื้อในฝักมีรสหวานเอียนขม ใช้ปรุงเป็นยาระบายอ่อน ๆ ระบายอุจจาระธาตุ แก้พรรดึกได้โดยไม่ไซ้ท้อง ช่วยระบายท้องเด็กได้ดีมาก โดยให้ใช้ในขนาด 8 กรัม เหมาะสำหรับใช้ในเด็กเพราะไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงเหมือนยาระบายที่แรงกว่า (เนื้อในฝัก)

ประโยชน์ของกาลพฤกษ์

  1. เปลือกฝักและเมล็ดมีรสขมเอียน ใช้เป็นยาลด ถ่ายพิษไข้ได้ดี (เปลือกฝัก, เมล็ด)

  2. เนื้อในฝักใช้แก้คูถ แก้เสมหะ (เนื้อในฝัก)

  3. ช่วยทำให้อาเจียน (เปลือกฝัก, เมล็ด)

  4. เนื้อในฝักมีรสหวานเอียนขม ใช้ปรุงเป็นยาระบายอ่อน ๆ ระบายอุจจาระธาตุ แก้พรรดึกได้โดยไม่ไซ้ท้อง ช่วยระบายท้องเด็กได้ดีมาก โดยให้ใช้ในขนาด 8 กรัม เหมาะสำหรับใช้ในเด็กเพราะไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงเหมือนยาระบายที่แรงกว่า (เนื้อในฝัก)

  5. นสมัยก่อนคนแก่จะใช้เนื้อในฝักกินกับหมาก

  6. ต้นกาลพฤกษ์จัดเป็นไม้มงคลที่มีรูปทรงสวยงาม ให้ดอกสวย ออกดอกดกเต็มต้น มีสีชมพูอ่อนสดใสดูงดงามเหมือนดอกเชอร์รี่ อีกทั้งดอกกาลพฤกษ์ก็มีทั้งสีชมพูและสีขาว จึงรวบรวบความงดงามของทั้งดอกเชอร์รี่และดอกแอปเปิ้ลไว้ในคราวเดียวกัน ในปัจจุบันนิยมจึงนำมาปลูกเป็นไม้ประดับกันทั่วประเทศ โดยส่วนใหญ่จะปลูกไว้ประดับอาคารบ้านเรือน ปลูกในสวนสาธารณะ และริมถนนทั่วไป และสามารถทนดินเลวและอากาศแห้งได้เป็นอย่างดี

  7. สำหรับความเชื่อของคนไทยในอดีตเชื่อกันว่า ต้นกาลพฤกษ์มีอยู่ในแดนสวรรค์ เปรียบเหมือนแก้วสารพัดนึก หากปรารถนาสิ่งใด จะไปขอเอาจากต้นไม้นี้ อีกทั้งต้นกาลพฤกษ์ยังถือเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะ มีโชคมีชัย โดยเชื่อกันว่าหากบ้านใดปลูกต้นกาลพฤกษ์ไว้เป็นไม้ประจำบ้าน โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้จะเป็นสิริมงคล ทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิต พบแต่ความสุขสมหวังทุกประการ หากผู้ปลูกเป็นผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือและเป็นผู้ประกอบคุณงามความดี ก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก

  8. คนไทยสมัยก่อนถือว่า กิ่งก้านจากต้นกาลพฤกษ์เป็นไม้มงคล เหมาะสำหรับการนำไปทำด้ามธง ถือว่าทำให้เกิดสิริมงคลดีนัก

  9. เนื้อไม้มีความละเอียดและให้น้ำฝาด ที่สามารถนำไปใช้ฟอกหนังได้

หนังสือแนะนำ

 

แหล่งอ้างอิง

กาลพฤกษ์ สรรพคุณและประโยชน์ของต้นกาลพฤกษ์ 6 ข้อ !.// สืบค้นเมื่อ 7 กัยายน 2562./ จากhttps://medthai.com/กาลพฤกษ์/


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
No tags yet.
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page