top of page

รวงผึ้ง


ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์

ชื่อไทย : รวงผึ้ง

ชื่อท้องถิ่น : น้ำผึ้ง (กรุงเทพฯ) , สายน้ำผึ้งและดอกน้ำผึ้ง (ภาคเหนือ)

ชื่อสามัญคือ : Yellow star

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schoutenia glomerata King subsp.peregrina (Craib)Roekm.

ชื่อวงศ์ : MALVACEAE

ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก

 

วีดีโอแนะนำ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ลำต้น : ลำต้นแตกกิ่งต่ำ กิ่งค่อนข้างเล็กเรือนยอดเป็นพุ่มมน

  • ใบ : ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปแผ่นใบสองข้างไม่เท่ากัน ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียว ด้านล่างสี น้ำตาลอมนวล

  • ดอก : ดอกมีกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน บานได้นาน ๗ – ๑๐ วัน ช่อดอกดกเกิดตามซอกใบ เป็นช่อสั้น โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกออกเป็น ๕ แฉกคล้ายรูปดาว ไม่มีกลีบดอกมีเกสรตัวผู้จำนวนมากซึ่งส่วนที่มองเห็นเป็นสีเหลืองเหมือนดอกนั้นเป็นเกสรตัวผู้รวมกันเป็นกระจุก เมื่อบานเต็มที่ดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕ ซม. มีกลิ่นหอม เมื่อดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามอร่ามตาและส่งกลิ่นหอมชื่นใจ

  • ผล : เป็นผลแห้ง ทรงกลม มีขน เมื่อแก่จะไม่แตก ขนาด ๐.๕-๑ เซนติเมตร

ระยะติดดอก : ช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม

สภาพนิเวศวิทยา:เป็นไม้กลางแจ้ง ชอบขึ้นในที่แล้ง ไม่มีน้ำท่วมขังจึงจะมีดอกสีเหลืองดกเต็มต้น แต่หากได้น้ำมากหรือขึ้นบนที่ชุ่มน้ำจะมีดอกประปราย

การปลูกและการขยายพันธุ์ : การตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง หรืออาจใช้การเพาะเมล็ดก็ได้ การตอนกิ่ง เป็นวิธีการที่เหมาะสมแต่ต้องใช้ฮอร์โมนในการเร่งรากจึงจะได้ผลดีในการขยายพันธุ์

รายละเอียดการใช้ประโยชน์ : นำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกสวยงามออกเต็มต้น มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ให้ร่มเงา ปลูกเลี้ยงง่าย ทนแล้ง เป็นไม้มงคลเหมาะสำหรับคนธาตุไฟ

ข้อดีของพันธุ์ไม้ :

  1. ออกดอกครั้งละมากๆ (เต็มต้น) เมื่อดินแห้งตามธรรมชาติ

  2. เป็นพันธุ์ไม้หอมที่มีช่วงการปลูกกว้าง สามารถขึ้นได้ดีทั้งที่แห้งแล้งและที่ค่อนข้างชื้น

  3. เป็นพันธุ์ไม้ที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ไม่ต้องการการดูแลมาก ใบไม่ค่อยร่วง

  4. เป็นพันธุ์ไม้ที่มีระบบรากดีมาก ไม่มีการหักโค่นของต้นขนาดใหญ่ ถึงแม้ว่าจะเป็นกิ่งที่ได้จากการตอน

 

แหล่งอ้างอิง

"รวงผึ้ง" ไม้หอมไทยแท้.// สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2562./ จาก http://www.royalparkrajapruek.org/Knowledge/view/25


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
No tags yet.
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page