top of page

ตะเคียนทอง


ตะเคียนทอง

ชื่อสามัญ Iron wood, Malabar iron wood, Takian, Thingan, Sace, Takian

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hopea odorata Roxb. จัดอยู่ในวงศ์ยางนา (DIPTEROCARPACEAE)

 

วีดีโอแนะนำ

ลักษณะของต้นตะเคียน
  • ไม้ต้น ขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 20 - 40 เมตร ลำต้นเปลาตรง

  • เปลือก หนาสีน้ำตาล มีชันสีเหลืองเกาะตามเปลือก ทั่วไป ต้นเล็กเปลือกจะเรียบ แต่เมื่อเป็นต้นใหญ่เปลือกจะแตกเป็นสะเก็ด เรือนยอดเป็นพุ่มทึบกลมหรือรูปเจดีย์ต่ำ ๆ

  • ใบ เป็นใบเดี่ยวออกสลับ รูปไข่แกมรูปหอกหรือรูปดาบ ท้องใบจะมีตุ่มคอมเมเซียเกลี้ยง ๆ อยู่ตามง่ามแขนงใบ

  • ดอก ดอกเล็กสีขาว ออกเป็นช่อยาว ๆ ตามง่ามใบและปลายกิ่งกลิ่นหอมก้านดอกและกลีบรองกลีบดอกมีขนนุ่มกลีบดอก มีอย่างละ 5 กลีบโคนกลีบเชื่อมติดกัน

  • ผล กลมหรือรูปไข่เกลี้ยงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.6 ซม ยาว 1 ซ.ม ปีกยาว หนึ่งคู่รูปใบพาย ปีกสั้นมีความยาวไม่เกินความยาวตัวผล

สรรพคุณของตะเคียนทอง

  1. แก่นมีรสขมอมหวาน ช่วยแก้โลหิตและกำเดา (แก่น)

  2. ช่วยคุมธาตุ (เนื้อไม้)[10] ปิดธาตุ (แก่น,ยาง)

  3. ช่วยแก้ไข้สัมประชวรหรือไข้ที่เกิดมาจากหลายสาเหตุ และมักมีอาการแสดงที่ตา เช่น แดง เหลือง หรือขุ่นคล้ำ เป็นต้น (แก่น)

  4. แก่นไม้ตะเคียนใช้ผสมกับยารักษาทางเลือดลม กษัย (แก่น)

  5. ช่วยแก้อาการลงแดง (เปลือกต้น)

  6. ช่วยขับเสมหะ (แก่น)

  7. เปลือกต้นนำมาต้มกับเกลือ ใช้อมช่วยป้องกันฟันหลุดเนื่องจากกินยาเข้าปรอท (เปลือกต้น)

  8. ช่วยแก้อาการปวดฟัน แก้เหงือกบวม (แก่น)

  9. ช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบ (เปลือกต้น)

  10. ช่วยฆ่าเชื้อโรคในปาก (เปลือกต้น)

  11. ช่วยแก้บิดมูกเลือด (เปลือกต้น)

  12. ช่วยแก้อาการท้องร่วง (แก่น, เนื้อไม้)

  13. ช่วยแก้อาการท้องเสีย (ยาง)

  14. ช่วยห้ามเลือด (เปลือกต้น, เนื้อไม้)

  15. ใช้เป็นยาสมานแผล (เปลือกต้น)

  16. เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำใช้ชะล้างรักษาบาดแผลเรื้อรัง (เปลือกต้น)

  17. ช่วยแก้อาการอักเสบ (เปลือกต้น, เนื้อไม้)

  18. ยางใช้ผสมกับน้ำใช้ทารักษาบาดแผล หรือจะทำเป็นยางแห้งบดเป็นผงใช้รักษาบาดแผล (ยาง)บ้างว่าใช้รักษาไฟไหม้และน้ำร้อนลวก (ยาง)

  19. เปลือกเนื้อไม้มีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะ ใช้ฆ่าเชื้อโรค (เปลือกต้น, เนื้อไม้)

  20. ยางจากไม้ตะเคียนเมื่อนำมาบดเป็นผง สามารถใช้เป็นยารักษาช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด เช่น ใช้ทำยาหม่องเพื่อช่วยบรรเทารักษาบาดแผลหรือบริเวณที่มีอาการฟกช้ำตามร่างกาย (ยาง)

  21. ช่วยรักษาคุดทะราด (แก่น)

  22. ดอกใช้เข้าในตำรับยาเกสรร้อยแปด ใช้ผสมเป็นยาทิพย์เกสร (ดอก)

  23. ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของตะเคียนทอง มีข้อมูลระบุว่ามีฤทธิ์แก้แพ้ ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์

ประโยชน์ตะเคียนทอง

  1. ไม้ตะเคียน จัดเป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศ เพราะเนื้อไม้มีความทนทาน ทนปลวกดี เลื่อย ไสกบ ตกแต่งและชักเงาได้ดีมาก นิยมใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน เครื่องเรือน หน้าต่าง วงกบประตู ทำพื้นกระดาน ฝ้าหลังคา รั้วไม้ หีบใส่ของ ด้ามเครื่องมือกสิกรรมต่าง ๆ พานท้ายและรางปืน หรือใช้ทำสะพาน ต่อเรือ ทำเรือมาด เรือขุด เรือแคนู เสาโป๊ะ กระโดงเรือ ทำรถลาก ทำหมอนรองรางรถไฟ ตัวถังรถ กังหัน เกวียน หูกทอผ้า ทำไม้ฟืน ฯลฯ ไม้ชนิดนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในงานไม้ได้ทุกอย่างที่ต้องการความแข็งแรงทนทาน เหนียวและเด้ง

  2. เปลือกต้นให้น้ำฝาดชนิด Catechol และ Pyrogallol

  3. ชันจากไม้ตะเคียนใช้ทำน้ำมันชักเงาตบแต่งเครื่องใช้ในร่ม ใช้ผสมกับน้ำมันทาไม้ยาแนวเรือ หรือใช้ผสมกับวัสดุอื่น ๆ เพื่อใช้ในงานต่าง ๆ เช่น ใช้สำหรับทาเคลือบเรือเพื่อช่วยรักษาเนื้อไม้และป้องกันเพรียงทำลาย เป็นต้น

  4. ใบตะเคียนมีสารแทนนินอยู่ประมาณ 10% โดยน้ำหนักแห้ง ส่วนในเปลือกต้นก็มีสารประกอบนี้อยู่ด้วยเช่นกัน โดยคุณสมบัติของแทนนินที่ได้จากไม้ตะเคียนทองนี้ เมื่อนำมาใช้ฟอกหนังจะช่วยทำให้แผ่นหนังแข็งขึ้นกว่าเดิม จึงเหมาะกับการนำมาใช้เฉพาะงานได้เป็นอย่างดี

  5. ใช้ปลูกตามป่าหรือตามสวนสมุนไพรเพื่อเป็นไม้บังลม เพื่อให้ร่มเงา และช่วยรักษาสมดุลทางธรรมชาติ เพราะไม้เป็นไม้ไม่ผลัดใบพร้อมกัน จึงเป็นไม้ที่ช่วยรักษาความเขียวได้ตลอดปี ช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นอย่างดี

หนังสือแนะนำ

 

แหล่งอ้างอิง

ตะเคียนทอง สรรพคุณและประโยชน์ต้นตะเคียนทอง 28 ข้อ !.//สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2562 ./ จากhttps://medthai.com/ตะเคียนทอง


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
No tags yet.
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page