พริก
ชื่อสมุนไพร พริก ชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum flutescens Linn ชื่อวงศ์ SOLANACAEAC ชื่อสามัญ Bird Chilli ชื่ออื่นๆ พริกแต้ ดีปลีขี้นก บักพริก ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พริกเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลโซลานาซีอี (Solanaceae) ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับมะเขือ มันฝรั่ง และยาสูบพืชในตระกูลนี้มีอยู่ประมาณ 90 สกุล (Genus)หรือ 2,000 ชนิด (Species) โดยทั่วไปเป็นได้ทั้งพืชล้มลุก ไม้พุ่ม และไม้ยืนต้นขนาดเล็กซึ่งกระจายอยู่ทั่วไปของโลก สำหรับพริกจัดอยู่ในสกุล Capsicum ซึ่งประกอบด้วยพืชชนิดต่างๆประมาณ 20-30 ชนิด สำหรับลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ศาสตร์ของพริกมีดังนี้ ราก ระบบรากของพริกมีรากแก้ว รากหากินลึกมาก ต้นพริกที่โตเต็มที่รากฝอยจะแออกไปหากินด้านข้างในรัศมีเกินกว่า1 เมตร และหยั่งลึกลงไปในดินเกินกว่า 1.20 เมตรรากฝอยหากินของพริกจะพบอยู่อย่างหนาแน่นมากในบริเวณรอบๆ ต้นใต้ผิวดินลึกประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นและกิ่ง ลำต้นพริกตั้งตรง สูงประมาณ 1-2.5 ฟุต พริกเป็นพืชที่มีการเจริญของกิ่งเป็นแบบ dichotomous คือกิ่งจะเจริญจากลำต้นเพียง 1 กิ่ง แล้วแตกออกเป็น 2 กิ่ง และเพิ่มเป็น 4 กิ่ง 8 กิ่ง 16 กิ่ง ไปเรื่อยๆ และมักพบว่าต้นพริกที่สมบูรณ์จะมีกิ่งแตกขึ้นมาจากต้นที่ระดับดินหลายกิ่ง จนดูคล้ายกับว่ามีหลายต้นอยู่รวมที่เดียวกันดังนั้นจึงมักไม่พบลำต้นหลักแต่จะพบเพียงกิ่งหลักๆเท่านั้น ทั้งลำต้นและกิ่งนั้นในระยะแรกจะเป็นไม้เนื้ออ่อนแต่เมื่อมีอายุมากขึ้นกิ่งก็จะยิ่งแข็งมาก แต่กิ่งหรือต้นพริกก็ยังคงเปราะและหักง่าย เมล็ด เมล็ดพริกขี้หนูมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าเมล็ดมะเขือเทศแต่มีรูปร่างคล้ายๆกันคือ มีรูปร่างกลมแบน มีสีเหลืองไปจนถึงสีน้ำตาล ผิวเรียบ ผิวไม่ต่อยมีขนเหมือน เมล็ดมะเขือเทศ มีร่องลึกอยู่ทางด้านหนึ่งของเมล็ด เมล็ดจะติดอยู่กับรกโดยเฉพาะทางด้านฐานของผลพริกเมล็ดจะติดอยู่มากกว่าปลายผล ส่วนมากที่เปลือกของผล และเปลือกของเมล็ดมักมีเชื้อโรคพวกโรคใบจุด และโรคใบเหี่ยวติดมา สำหรับจำนวนเมล็ดต่อผลพริก 1 ผล จะไม่แน่นอน แต่ตามมาตรฐานของขนาดเมล็ดพริกแล้ว เมล็ด
สรรพคุณ
1. พริกช่วยขับเสมหะ ช่วยให้ทางเดินหายใจโล่ง สารแคปไซซินช่วยลดความไวของปอด ต่อการเกิดอาการต่างๆ เช่น การบวมของเซลล์หลอดลมใหญ่และเล็ก ลดการหดเกร็งเนื้อรอบหลอดลม พริกเผ็ดจึงเป็นประโยชน์ต่อคนที่เป็นหอบหืด เมื่อเราลองกินพริกที่รสเผ็ดๆ น้ำตา น้ำมูกไหล ซึ่งอธิบายได้ว่า พริกช่วยให้เสมหะที่ข้นเหนียว เจือจางลง ร่างกายจะขับเสมหะออกจากหลอดลมได้ง่ายขึ้น
2. ช่วยสลายลิ่มเลือด มีรายงานการวิจัย นายแพทย์สุคนธ์ วิสุทธิพันธ์และคณะ จากศิริราชพยาบาล ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบ 2 กลุ่มคือคนที่ได้รับพริก และไม่ได้รับพริกในอาหาร ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับพริกจะมีการทำงานของร่างกายเพื่อสลายลิ่มเลือดได้เร็วกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับพริก แต่หลังจากกินพริกแล้วครึ่งชั่วโมง ความสามารถในการสลายลิ่มเลือดจะกลับคืนสู่ปกติ และยังมีการศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ของชาวอินเดีย เปรียบเทียบชาวไทยกับชาวอเมริกันที่อาศัยในไทยแต่ไม่รับประทานพริก พบว่าคนอเมริกันมี fribrinogen ในเลือดสูง และเลือดมีโอกาสจะจับตัวเป็นลิ่ม และนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจได้ง่ายกว่า ดังนั้นผลดีที่คนไทยใช้พริกประกอบอาหาร โอกาสจะเกิดโรคหัวใจจึงมีน้อยกว่า
3. บรรเทาอาการปวด เช่น ลดอาการปวดฟัน สารแคปไซซิน ออกฤทธิ์ต่อเซลประสาทโดยชะลอการหลั่งของ neurotransmitter ที่ปลายประสาท substance P ส่งผลให้สมองส่วนกลางรับรู้การเจ็บปวดช้าลง
4. พริกช่วยกระตุ้นสมองส่วนกลางให้หลั่งสารเอ็นดอร์พิน (endorphins) ซึ่งเป็นสารสร้างความสุข เมื่อรับประทานพริกจะเกิดความสุขและเป็นส่วนหนึ่งทำให้อยากเพิ่มขนาดพริกในอาหารขึ้นเรื่อยๆ สารเอ็นดอร์พินมีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน คือ การออกฤทธิ์ทำให้เกิดการผ่อนคลาย ทำให้อยากหลับ (opiates) ซึ่งนั้นก็ให้เกิดความสุขแก่ตัวเราและทำให้ความดันโลหิตลดลง
5. พริกจะช่วยกระตุ้นให้อยากอาหาร
6.พริกช่วยป้องกันโรคมะเร็ง เนื่องจากในพริกมีทั้งวิตามิน เอ ซี และโปรตีน
ข้อควรระวัง
แม้ว่าพริกจะมีสรรพคุณนานัปการอย่างที่กล่าวแล้ว แต่ท่านต้องใช้อย่างระมัดระวัง ไม่ควรรับประทานรสเผ็ดจัด และในผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เป็นแผลในกระเพาะอาหาร หรือหลอดอาหาร ไม่ควรรับประทานพริกมาก เพราะอาการเจ็บป่วยของท่านอาจเป็นมากขึ้น ไม่ควรทานเผ็ดในช่วงท้องว่าง ควรปรุงเป็นอาหาร ไม่ควรเคี้ยวพริกสด ๆ เพราะอาจจะเกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร อาจจะทำให้ท่านเป็นแผลเรื้อรังและกลายเป็นมะเร็งได้
แหล่งอ้างอิง
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2557).ฐานข้อมูลสมุนไพร
ค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2562,จาก https://herbalbank.kku.ac.th/
Medthai. (2562).เครื่องมือค้นหาสมุนไพร. ค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2562,จาก https://medthai.com/search/