top of page

ต้นอ้อย


ต้นอ้อย

ชื่อสมุนไพร ต้นอ้อย ชื่อวิทยาศาสตร์ Saccharum sinense Roxb. ชื่อวงศ์ Graminae ชื่อสามัญ - ชื่ออื่นๆ อ้อย อ้อยขม อ้อยแดง อ้อยตาแดง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 2-5 เมตร มักขึ้นเป็นกอ ลำต้นแข็งแรง ต้นมีลักษณะคล้ายต้นอ้อยทั่วไป แต่จะมีสีม่วงแดง ถึงดำ มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน ลำต้นกลมยาว เห็นข้อและปล้องชัดเจน แต่ละปล้องอาจยาวหรือสั้นก็ได้ ผิวเรียบ เปลือกสีแดงอมม่วง มีตาออกตามข้อ ลำต้นแข็งเป็นมัน เนื้ออ่อน ฉ่ำน้ำ เปลือกมีรสขม น้ำไม่ค่อยหวานแหลมเหมือนอ้อยธรรมดา มักมีรากอากาศอยู่ประปราย ใบเดี่ยว ออกที่ข้อแบบเรียงสลับ และร่วงง่าย จึงพบเฉพาะปลายยอด โดยมีกาบใบโอบหุ้มข้ออยู่ ใบรูปขอบขนาน แคบยาวเรียว มีขนสากคายทั้งสองด้านของใบ แผ่นใบสีม่วงเข้ม มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 100-150 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบหุ้มลำต้น กลางใบเป็นร่อง ขอบใบจักละเอียดและคม เส้นกลางใบใหญ่ เป็นสีขาวมีขน ดอกเป็นดอกช่อใหญ่ ออกที่ปลายยอด ลำต้นจะออกดอกเมื่อแก่เต็มที่ ช่อดอกตั้งยาว 40-80 เซนติเมตร ในช่อหนึ่งมีดอกย่อยสีขาวครีม จำนวนมาก และมีขนยาว เมื่อแก่จะมีพู่ปลายเมล็ด ปลิวตามลมได้ง่าย ผลเป็นผลแห้ง ขนาดเล็ก จะออกเมื่อต้นแก่จัด

สรรพคุณ 1.ตำรายาไทยใช้ ลำต้นทั้งสดหรือแห้ง ขับปัสสาวะ ใช้ลำต้นวันละ 1 กำมือ รักษาโรคนิ่ว อาการไอ แก้ไข้ คอแห้ง กระหายน้ำ แก่น ผสมกับแก่นปีบ หัวยาข้าวเย็น ต้มดื่มเป็นยาอายุวัฒนะ ยาฟอกเลือด แก้ช้ำบวม กินแก้เบาหวาน แก้ไอ ขับเสมหะ เปลือกต้น รสหวานขม แก้ตานขโมย แก้แผลเน่าเปื่อย แผลกดทับ ชานอ้อย รสจืดหวาน แก้แผลเรื้อรัง แก้ฝีอักเสบบวม ลำต้น น้ำอ้อย รสหวานขมชุ่ม แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้หืด ไอ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ไข้สัมประชวน แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไตพิการ แก้หนองใน ขับนิ่ว แก้ช้ำรั่ว แก้ท้องผูก บำรุงกระเพาะอาหาร แก้ขัดเบา บำรุงธาตุ แก้สะอึก แก้เมาค้าง ท้องผูก รักษานิ่ว บำรุงกำลัง ทำให้เจริญอาหาร เจริญธาตุ รักษาตามืดฟาง กำเดา อาการอ่อนเพลีย ผายธาตุ ตา รสหวานขม แก้ตัวร้อน แก้พิษตานซาง บำรุงธาตุน้ำ บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ ราก ใช้รักษาไส้ใหญ่แตกพิการ ทำให้วิงเวียนหน้ามืดตาลาย ทำให้เจ็บหลังเจ็บเอว ท้องอืด บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต รักษาอาการอ่อนเพลีย และรักษาเลือดลม 2.ตำรายาพื้นบ้านนครราชสีมา ใช้ ต้น รักษาแผลพุพอง รักษาโรคงูสวัด และขับปัสสาวะ โดยหั่นเป็นแผ่น ต้มรับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา ก่อนอาหารเช้า เย็น

 

แหล่งอ้างอิง

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2557).ฐานข้อมูลสมุนไพร

ค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2562,จาก https://herbalbank.kku.ac.th/

Medthai. (2562).เครื่องมือค้นหาสมุนไพร. ค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2562,จาก https://medthai.com/search/


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
No tags yet.
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page