top of page

เทียงกิ่ง,กาว


ชื่อสมุนไพร เทียนกิ่ง,กาว ชื่ออื่นๆ เทียนย้อม เทียนไม้ (ไทย) เทียนป้อม เทียนต้น (กลาง) ชื่อวิทยาศาสตร์ Lawsonia inermis Linn ชื่อวงศ์ Lythraceae ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้นสูง 30-50 เซนติเมตรแตกกิ่งก้านมากใบเดี่ยวเรียงตรงกันข้ามรูปวงรีกว่าง 1-2 เซนติเมตรยาว 3-4 เซนติเมตรเนื้อใบค่อนข้างแข็ง ดอก ช่อออกที่ปลายกิ่ง มีดอกทั้งปี ดอกย่อยขนาดเล็ก มีสองพันธุ์คือพันธุ์ดอกขาวและพันธุ์ดอกแดง ผล ผลเป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลมสีเขียวแกจัดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน การใช้เครื่องสำอางและสรรพคุณยา เทียนกิ่งหรือเฮนน่า เป็นสมุนไพรที่ย้อมผมกันมานานชาติที่นำมาย้อมผมเป็นชาติแรกคือ อียิปต์ เทียนกิ่งเมื่อใช้ย้อมผมจะทำให้ได้ผมสีไปทางสีแดงหรือสีแดงปนส้มนอกจากย้อมผมแล้วยังใช้ย้อมเล็บ ฝ่ามือ และฝ่าเท้านางระบำด้วยนอกจากนี้ยังพบว่าในเทียนกิ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราบางชนิด สารสกัดเอทานอล 95 % มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ สารสกัดใบเทียนกิ่งด้วยน้ำมีฤทธิ์ทำให้มดลูกบีบตัว ได้มีผู้ทดสอบความเป็นพิษของใบเทียนกิ่งในคนพบเมื่อให้รับประทานคนละ30 กรัมไม่พบว่าเป็นพิษแต่ถ้าให้ไปนานๆจะมีอาการเบื่ออาหาร และมีอาการเคลื่อนไหวของลำไส้มาก และเมื่อทดสอบในสุนัขก็ไม่ปรากฏอาการพิษจะเห็นว่าการการใช้ใบเทียนกิ่งย้อมผมจึงค่อนข้างปลอดภัย

สรรพคุณ 1.หมอยาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ใบ เข้ายากับใบหนาด เครือส้มลม และตะไคร้หอม ต้มน้ำดื่มและอาบ แก้วิงเวียน ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี 2.ตำรายาไทย มักใช้ร่วมกับเปล้าน้อย เรียกว่าเปล้าทั้งสอง ใบ มีรสร้อน เมาเอียน เป็นยาบำรุงธาตุ แก้คันตามตัว แก้ลมจุกเสียด เป็นยาบำรุงกำลัง แก้กระหาย แก้เสมหะ และลม ดอก รสร้อน เป็นยาขับพยาธิ ผล รสร้อน เมาเอียน ดองสุราดื่มขับเลือดหลังคลอด ขับน้ำคาวปลา เปลือกต้นและกระพี้ รสร้อน เมาเย็น เป็นยาช่วยย่อยอาหาร แก้เลือดร้อน เปลือกต้น และใบ แก้ท้องเสีย บำรุงโลหิต น้ำต้มเปลือกต้น กินแก้ไข้ แก้ตับอักเสบ แก้ปวดข้อและปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ แก่น รสร้อนเมาเย็น ขับพยาธิไส้เดือน ขับเลือด ขับหนองให้ตก ราก รสร้อนเมาเย็น ขับลมและแก้โรคผิวหนังผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย แก้โรคเรื้อน มะเร็ง คุดทะราด กระจายลม ทำน้ำเหลืองให้แห้ง รากต้มน้ำกินแก้โรคเหน็บชา โรคทางเดินปัสสาวะ แก้ปวดเมื่อย เจริญอาหาร และแก้ร้อนใน เนื้อไม้ รสร้อน แก้ริดสีดวงลำไส้และริดสีดวงทวารหนัก แก่น แก้ลมอันผูกเป็นก้อนให้กระจาย เป็นยาขับพยาธิไส้เดือน เมล็ด กินเป็นยาถ่าย 3.ยาพื้นบ้าน ใช้ ต้น ผสมกับรากส้มลม ต้นเล็บแมวต้นตับเต่าโคก ต้นมะดูก ต้นมะเดื่ออุทุมพร ต้นกำจาย ต้นกำแพงเจ็ดชั้น และต้นกะเจียน ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย ราก ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง ถ่ายเป็นมูกเลือด ใบ ต้มน้ำอาบ แก้ผื่นคัน ยาพื้นบ้านนครราชสีมา ใช้ น้ำต้มใบ ชำระล้างบาดแผล

 

แหล่งอ้างอิง

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2557).ฐานข้อมูลสมุนไพร

ค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2562,จาก https://herbalbank.kku.ac.th/

Medthai. (2562).เครื่องมือค้นหาสมุนไพร. ค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2562,จาก https://medthai.com/search/


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
No tags yet.
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page