top of page

อังกาบหนู


ชื่อสมุนไพร อังกาบหนู ชื่ออื่นๆ เขี้ยวแก้ง เขี้ยวเนื้อ อังกาบ มันไก่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Barleria prionitis L. ชื่อวงศ์ ACANTHACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้นอังกาบหนู หรือ ต้นอังกาบเหลือง เป็นไม้พุ่มเตี้ย มีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร แตกกิ่งก้านจำนวนมาก มีลำต้นเกลี้ยง มีหนามยาวอยู่รอบข้อ หนามมีความประมาณ 1-2 เซนติเมตร มักพบขึ้นหนาแน่นเป็นวัชพืชอยู่ตามเขาหินปูนในที่แห้งแล้งทางภาคใต้และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไทย และมีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในแอฟริกา ปากีสถาน อินเดีย พม่า มาเลเซีย รวมไปถึงภูมิภาคอินโดจีน ใบอังกาบหนู หรือ ใบอังกาบเหลือง มีใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน มีความยาวประมาณ 4-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเรียวสอบจรดกับก้านใบ ที่ปลายมีติ่งแหลม ขอบใบมีขนแข็ง แผ่นใบมีขนสั้นนุ่มกระจายอยู่ด้านล่าง ก้านใบมีความยาวได้ประมาณ 2.5 เซนติเมตร ใบอังกาบหนู ดอกอังกาบหนู (อังกาบดอกเหลือง) ออกดอกเป็นช่อเป็นกระจุกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง (ออกหนาแน่นที่ช่วงปลายกิ่งคล้ายช่อเชิงลดสั้น) มีใบประดับดอกลักษณะเป็นรูปแถบยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ใบประดับย่อยเป็นหนาม ติดทน มีความยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบเรียงซ้อนเหลื่อมกันอยู่ มีขนาดไม่เท่ากัน คู่นอกจะมีขนาดใหญ่กว่า มีความยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ที่ปลายเป็นติ่งหนาม กลีบคู่ในรูปไข่ ปลายแหลมยาว กลีบดอกลักษณะคล้ายรูปปากเปิด หลอดกลีบยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร ดอกอังกาบหนูมีกลีบดอก 5 กลีบ มีสีส้มหรือเหลือง กลีบด้านบนมี 4 กลีบ มีความยาวเท่ากัน หลอดกลีบเรียงซ้อนเหลื่อมกัน ส่วนกลีบล่างจะมีขนาดเล็กกว่ากลีบบนเล็กน้อย มีเกสรตัวผู้ 2 ก้าน ติดอยู่ที่โคนกลีบดอก ยื่นเลยปากหลอดกลีบเล็กน้อย อับเรณูมีความยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร เกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน 2 ก้าน มีขนาดเล็ก มีรังไข่เป็นรูปไข่ มีความประมาณ 3-4 มิลลิเมตร มีช่องอยู่ 2 ช่อง แต่ละช่องมีออวุลอยู่ 2 เม็ด ส่วนก้านเกสรตัวเมียมีลักษณะเรียวยาว ยาวกว่าเกสรตัวผู้ ยอดเกสรเป็น 2 พู ไม่ชัดเจนนัก ผลอังกาบหนู ลักษณะของผลเป็นแบบแคปซูล รูปไข่แกมรูปขอบขนาน มีความประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ที่ปลายเป็นจะงอย ด้านในมีผลมีเมล็ดแบน ลักษณะคล้ายรูปไข่ มีความยาวประมาณ 5-7 มิลลิเมตร และมีขนคล้ายไหมแบนราบ

สรรพคุณ 1.ดอกอังกาบนำมาตากแห้งใช้ปรุงเป็นยาสมุนไพร ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยเจริญธาตุไฟได้ดีมาก (ราก, ดอก) 2.รากหรือใบใช้เป็นยาลดไข้ (ราก, ใบ) ช่วยแก้หวัดด้วยการนำใบมาคั้นกิน (ใบ) ช่วยขับเสมหะด้วยการใช้รากของดอกอังกาบสีเหลืองที่ตากแห้งแล้วนำมาต้มเป็นยาดื่ม (ราก) 3.ใบอังกาบหนูใช้เคี้ยวแก้อาการปวดฟันได้ (ใบ) ใบใช้ผสมกับน้ำผึ้งช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ใบ) น้ำคั้นจากใบใช้หยอดหู แก้หูอักเสบได้ (ใบ) ช่วยป้องกันและแก้อาการท้องผูก (ใบ) 4.ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย (ราก) ใช้แก้พิษงู (ใบ) ช่วยรักษาโรคคัน (ใบ) รากหรือใบใช้ผสมกับน้ำมะนาวช่วยรักษากลากเกลื้อน (ใบ, ราก) รากใช้เป็นยาแก้ฝี (ราก)

 

แหล่งอ้างอิง

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2557).ฐานข้อมูลสมุนไพร

ค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2562,จาก https://herbalbank.kku.ac.th/

Medthai. (2562).เครื่องมือค้นหาสมุนไพร. ค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2562,จาก https://medthai.com/search/


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
No tags yet.
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page