มะเขือพวง
ชื่อสมุนไพร มะเขือพวง ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum torvum Sw. ชื่อวงศ์ SOLANACEAE ชื่อสามัญ - ชื่ออื่นๆ มะเขือพวง (กลาง) มะแคว้งกุลา (เหนือ) หมากแข้ง (อีสาน) มะเขือละคร (โคราช) เขือน้อย เขือพวง ลูกแว้ง เขือเทศ (ใต้) และมะแว้งช้าง (สงขลา) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มะเขือพวงเป็นไม้พุ่มเตี้ย สูง 1 - 2 เมตร ลำต้นตั้งตรงและแข็งแรง ลำต้นมีขนนุ่มขึ้นปกคลุม ลำต้นและใบมีหนามเล็ก ๆ ห่างขึ้นทั่วไป แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบเป็นรูปรี ปลายใบแหลมริมใบหยักเว้าต้น ใบยาว 4 - 8 นิ้ว ดอกออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกออกเป็นกระจุกมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีเกสรตัวผู้และตัวเมียติดอยู่กับหลอดของกลีบดอก ผลรูปร่างกลม ผิวเรียบ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม.ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม ภายในมีเมล็ดเล็ก ๆ สรรพคุณ 1.ทั้งต้น ใบ และผล รสจืด เย็นและมีพิษเล็กน้อย ทำให้เลือดหมุนเวียนดี แก้ปวด ฟกช้ำ ตรากตรำทำงานหนัก กล้ามเนื้อบริเวณเอวฟกช้ำไอเป็นเลือด ปวดกระเพาะ ฝีบวมมีหนองและอาการบวมอักเสบ
2.รากใช้พอกเท้าแตกเป็นร่องเจ็บ
แหล่งอ้างอิง
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2557).ฐานข้อมูลสมุนไพร
ค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2562,จาก https://herbalbank.kku.ac.th/
Medthai. (2562).เครื่องมือค้นหาสมุนไพร. ค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2562,จาก https://medthai.com/search/