top of page

กุยช่าย


กุยช่าย

ชื่อสมุนไพร กุยช่าย

ชื่ออื่น ๆ กูไฉ่ (จีน-แต้จิ๋ว), กุยช่าย, หอมแป้น, ผักแป้น, หัวชู ชื่อสามัญ Chinese Chive ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium tuberosum Rottler วงศ์ ALLIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

- ต้นกุยช่าย จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีความสูงประมาณ 30-45 เซนติเมตร มีเหง้าเล็กและแตกกอ​

ต้นกุยฉ่าย

- ใบกุ่ยช่าย จะออกจากโคนต้นเป็นเส้นแบน ยาว กว้างประมาณ 1.5-9 มิลลิเมตร ยาว 10-27 เซนติเมตร เป็นสีเขียวแก่ ขอบใบเรียบ ไม่มีขน ปลายใบแหลม ตัวใบเป็นมัน

ใบกุยช่าย

- ดอกกุ่ยช่าย จะออกจากโคนต้น สูงขึ้นประมาณ 50 เซนติเมตร ส่วนบนดอกจะออกเป็นช่อ มีกลีบหุ้มช่อดอกเนเยื่อสีขาว มี 1-3 กลีบ ส่วนปลายแหลมดอกย่อยสีขาวมีกลีบอยู่ 6 กลีบ มีรูปกลมรี ยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ปลายของมันจะแหลมนมถึงแหลมมาก เรียงสลับกันเป็น 2 ชั้น ก้านเกสรตัวผู้ยาวไม่เกินกลีบดอก เกสรตัวผู้มีจำนวน 6 อัน อับเรณูเป็นสีเหลือง มีก้านเกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่จะอยู่เหนือกว่าส่วนอื่น ของดอก ภายในจะแบ่งออกเป็น 3 ห้อง เป็นรูปทรงสามเหลี่ยม

ดอกกุยช่าย

- ผลกุ่ยช่าย จะมีรูปทรงกลมรี เป็น 3 พู ยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 มิลลิเมตร

- เมล็ดกุ่ยช่าย ภายในเมล็ดจะเป็นสีดำ รูปทรงกลมรี แบน คล้ายรูปไต

- รากกุ่ยช่าย รากมีลักษณะเป็นฝอย มีมาก โดยจะงอกแผ่กระจายไปรอบลำต้น ของมัน

สรรพคุณกุ่ยช่าย

1.ช่วยบำรุงกระดูก เนื่องจากใบกุยช่ายมีธาตุฟอสฟอรัสสูง (ใบ)

2.ช่วยป้องกันมะเร็ง ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง (นิตยสารครัว) (ใบ)

3.ช่วยแก้เลือดกำเดาไหลได้เป็นอย่างดี (ราก)

4.ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก (ราก)

5.มล็ดใช้รับประทานร่วมกับสุรา ใช้เป็นยาขับโลหิตประจำเดือนที่เป็นลิ่มเป็นก้อนได้เป็นอย่างดี (เมล็ด)

 

แหล่งอ้างอิง

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2557).ฐานข้อมูลสมุนไพร

ค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2562,จาก https://herbalbank.kku.ac.th/

Medthai. (2562).เครื่องมือค้นหาสมุนไพร. ค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2562,จาก https://medthai.com/search/


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
No tags yet.
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page